Precision Health Co., Ltd.
มะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิดพันธุกรรม
มะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิดพันธุกรรม

จากโพสต์ที่แล้ว ได้กล่าวไปแล้วว่า มะเร็งลำไส้ใหญ่นั้น สามารถเกิดได้ จากปัจจัยทางพันธุกรรม หรือ กล่าวง่ายๆ ก็คือ หากคนในครอบครัวเคยประวัติเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มาก่อน สมาชิกในครอบครัวจะมีความเสี่ยงได้รับยีนที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่นี้ไปด้วย
ซึ่งมะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิดพันธุกรรม คิดเป็น 5-10% ของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ทั้งหมด
โดยมะเร็งลำไส้ใหญ่ ชนิดพันธุกรรม แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. ชนิดมีติ่งเนื้อ Familial adenomatous polyposis หรือ FAP เป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบได้น้อยประมาณ 1% ของมะเร็งลำไส้ใหญ่ทั้งหมด ยีนที่เป็นสาเหตุของโรคนี้คือ ยีน APC ซึ่งมีการถ่ายทอดแบบยีนเด่น หมายความว่า หากพ่อหรือแม่มีความผิดปกติของยีนชนิดนี้ ลูกก็จะมีความเสี่ยง 50 เปอร์เซ็นต์ที่จะได้รับยีนที่ผิดปกตินี้มา และมีโอกาสเกิดเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่สูงมากในอนาคต (High Penetrance) จำเป็นต้องตรวจคัดกรองสมาชิกในครอบครัว รวมทั้งตรวจติดตามแม้ว่ายังไม่มีอาการหรืออาการแสดง โดยลักษณะอาการของโรคนี้คือ จะพบติ่งเนื้อ (polyps) ภายในลำไส้ในปริมาณตั้งแต่หลักสิบจนถึงหลักพัน มักจะพบได้ตั้งแต่ช่วงอายุวัยรุ่นถึงวัยกลางคน ถึงแม้ว่าติ่งเนื้อเหล่านี้จะดูไม่เป็นพิษเป็นภัย แต่หากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษา ก็จะมีโอกาสทำให้ ติ่งเนื้อเหล่านี้ลุกลามเป็นมะเร็งได้
2. ชนิดไม่มีติ่งเนื้อ Hereditary Nonpolyposis Colorectal Cancer หรือ Lynch Syndrome เป็นโรคทางพันธุกรรม ที่ถ่ายทอดในลักษณะยีนเด่นเช่นเดียวกัน แต่จะพบบ่อยกว่าลักษณะแรก ซึ่งเกิดจากความปกติของยีนกลุ่ม MMR ซึ่งมีบทบาทหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจสอบความถูกต้องของการสร้างยีน

Q : แล้วการตรวจแบบไหนละ ที่จะสามารถบอกได้ว่าเรามียีนผิดปกติ ที่ทำให้ความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่
ด้วยความรู้ในปัจจุบันนี้ บวกกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้มีการตรวจยีนมะเร็งพันธุกรรม เกิดขึ้น
หากใครสนใจสามารถติดต่อพวกเราได้ที่
Tel : 093-159-9599
Line : @precisionhealth
หรืออ่านบทความที่คุณสนใจได้ที่ https://www.precisionhealth.co.th/blog
By ชนกพร สถาพรเจริญชัย
Posted 2023-04-06 00:00:00