Precision Health

Precision Health Co., Ltd.

Q3 2/13

อาการมือชา สัญญาณอันตรายที่ควรต้องรู้
เวลาที่เราพูดถึงอาการ “มือชา” สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือการที่เส้นประสาทถูกกดทับ (compressive neuropathy) หากนึกไม่ออกให้นึกถึงเวลาที่เรานั่งทับขาตัวเองนานๆ เส้นประสาทก็จะถูกกดทับไปด้วย ทำให้มีอาการชา หรือเป็นเหน็บขึ้นที่บริเวณปลายขาปลายเท้า
อาการมือชา จากเส้นประสาทถูกกดทับสามารถแบ่งเป็นระยะต่างๆ ได้ดังนี้
ระยะแรก
• มีอาการมือชาบางช่วง อาจรู้สึกยิบ ๆ ปลายนิ้วมือ ฝ่ามือ หรือบริเวณที่เส้นประสาทถูกกดทับ
• มีอาการมือชาตอนกลางคืน ช่วงเช้ามืด หรือช่วงตื่นนอน
• มีอาการมือชาเฉพาะในขณะที่ใช้มือทำกิจกรรมบางชนิด ซึ่งไม่ได้รบกวนชีวิตประจำวันมากนัก
ระยะที่ 2
• อาการชามักเกิดขึ้น แม้ว่าจะไม่ได้ใช้มือทำกิจกรรมใด ๆ
• หยิบจับสิ่งของแล้วไม่มีแรง เนื่องจากความอ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่เส้นประสาทไปเลี้ยง
• นอกจากอาการชา อาจจะมีอาการปวดร่วมด้วย ลักษณะเหมือนโดนไฟช็อต ปวดลึก ๆ ปวดบีบ ๆ ในบริเวณที่ชา
ระยะสุดท้าย
• มีอาการมือชาหรือปวดตลอดเวลา
• มีกล้ามเนื้อฝ่อลีบ เนื่องจากไม่มีเส้นประสาทไปเลี้ยง ซึ่งหากปล่อยไว้นานจะยากต่อการรักษามากขึ้น
 
numb มือชา อาการมือชา ชา มือ numbness numb hand
สาเหตุของมือชา
ส่วนมากเกิดจากการหนาตัวของเอ็นกระดูกบริเวณข้อมือหรือที่บริเวณอุโมงค์ข้อมือ เอ็นจะไปกดรัดเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อที่ฝ่ามือ และเส้นประสาทที่ทำหน้าที่รับความรู้สึกที่ฝ่ามือ เมื่อมีการเคลื่อนไหวของข้อมือมาก ๆ จึงทำให้เกิดการระคายมากขึ้น
กลุ่มที่พบอาการมือชา
• คนทำงานในออฟฟิศที่ต้องรับโทรศัพท์ หรือใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
• แม่ครัว
• ช่างทำผม
• แม่บ้านทำความสะอาด กวาดบ้าน
• กลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
• สตรีที่ตั้งครรภ์
• ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
• กลุ่มคนที่ขับรถทางไกล หรือต้องขับเป็นเวลานาน
• นักเขียนหนังสือ
• งานเย็บปักถักร้อย
• ผู้ป่วยที่มีข้อต่อกระดูกคอเสื่อม รวมถึงการขาดวิตามินบี
การรักษาอาการมือชา
อาการมือชา มักจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ควรรีบปรึกษาแพทย์หรือหาวิธีแก้อาการมือชา ซึ่งแนวทางการรักษามีแนวทาง ดังนี้
การรักษาด้วยตัวเอง
หากคุณมีอาการมือชา สามารถบรรเทาได้ด้วยวิธีง่ายๆ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งการรักษาทางการแพทย์เสมอไป ลองปฏิบัติตามแนวทางเหล่านี้เพื่อช่วยลดอาการและป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ
1. ยืดเหยียดกล้ามเนื้อแขนและมือเป็นประจำ
2. ปรับท่าทางการทำงานให้ถูกต้อง จัดตำแหน่งคีย์บอร์ด เมาส์ และความสูงของโต๊ะ-เก้าอี้ให้เหมาะสม
3. ใช้อุปกรณ์เสริม เช่น อุปกรณ์พยุงข้อมือ แผ่นรอง หรือแป้นพิมพ์เออร์โกโนมิก
4. รับประทานอาหารบำรุงระบบประสาท เช่น อาหารที่มีวิตามินบี 12 โอเมก้า 3 และแมกนีเซียม เป็นต้น
หากลองแก้มือชาด้วยตัวเองแล้วยังไม่สามารถบรรเทาอาการได้ ควรรีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อทำการรักษา เพื่อฟื้นฟูการทำงานของมือให้กลับมาเป็นปกติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การรักษา
• ถ้าผู้ป่วยอาการไม่รุนแรง จะให้ยาต้านการอักเสบของเส้นเอ็นและเส้นประสาท
• กำจัดปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุ เช่น ถ้าเกิดจากการใช้งานเยอะ ก็พักการใช้ชั่วคราว ลดการสั่นสะเทือน
• ใช้งานแขนและมือให้ถูกท่า
• บริหารยืดกล้ามเนื้อบริเวณแขนและมือ เพื่อลดความตึงพังผืดระหว่างเส้นเอ็นและเส้นประสาท
• อาจใช้ยากิน ยานวด หรือทำกายภาพด้วย
• การให้วิตามินบี
• การผ่าตัดเอ็นที่ไปกดรัดเส้นประสาทนั้น
ดั้งนั้นการดูแล ป้องกัน และถนอมข้อมือ เพื่อให้เราได้ใช้งานนาน ๆ ควรลดการใช้งานข้อมือลง และปรับท่าทางการทำงานของมือให้เหมาะสม ระหว่างทำงานข้อมือต้องไม่งอมากเกินไป หากใช้งานข้อมือที่ผิดท่า ผิดวิธี อาจนำมาซึ่งการรักษาที่ซับซ้อนมากขึ้น
By adminph Posted 2025-07-10 16:20:00

ค้นหาบทความ


บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง