Precision Health

PM 2.5 ก่อให้เกิดมะเร็งปอดจริงหรือไม่

PM 2.5 ก่อให้เกิดมะเร็งปอดจริงหรือไม่ ❓
 
อย่างที่ทราบกันดีว่า มะเร็งปอดสาเหตุสำคัญเกิดจาก
1. การสูบบุหรี่ หรืออยู่ใกล้ชิดกับคนสูบบุหรี่
2. การทำงานที่มีการสัมผัสกับแร่ใยหินในรูปแบบต่างๆ
3. การส่งต่อทางพันธุกรรม
แต่ในปัจจุบันนี้เราพบว่า มะเร็งปอดเกิดในกลุ่มคนที่ไม่ได้สูบบุหรี่เพิ่มมากขึ้น และปัจจัยอะไรละที่มีผล ?
ณ ปัจจุบันนี้ สภาวะมลพิษทางอากาศ เช่น PM 2.5 ที่ดูท่าจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ก็กลายเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการเกิดมะเร็งปอด
PM 2.5 (Particulate Matter) เป็นอนุภาคขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (เล็กกว่าเส้นผมมนุษย์ 20 กว่าเท่า) ซึ่งเจ้าฝุ่นจิ๋วนี้ เกิดจาก การเผาไหม้เครื่องรถยนต์ การเผาในที่โล่ง และควันจากโรงงานอุตสาหกรรม
เจ้าฝุ่นจิ๋วนี้สามารถเข้าสู่ปอด และกระแสเลือดได้ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพในระยะสั้น เช่น แสบตา แสบจมูก ระคายเคืองตา และถ้าได้รับในปริมาณมากและยาวนาน จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหอบหืด ภูมิแพ้ ถุงลมโป่งพอง มะเร็งปอด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองได้
โดยงานวิจัยเรื่อง Air Pollution and Cigarette Equivalence โดย Richard A. Muller และ Elizabeth A. Muller พบว่า การได้รับ PM 2.5 ปริมาณ 22 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จะเทียบเท่ากับ การสูบบุหรี่ 1 มวน
ดังนั้นทำให้สรุปได้ว่า หากร่างกายได้รับ PM 2.5 ในปริมาณมาก และเป็นเวลานาน จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอด
สัปดาห์หน้าเรามาต่อ ในหัวข้อการป้องกันมะเร็งปอดกันนะคะ
By adminph Posted 2024-03-14 00:00:00

ค้นหาบทความ


บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง