Precision Health

เรื่องจริง ไม่จริง ของการตรวจความเสี่ยงมะเร็งจากพันธุกรรม

เรื่องจริง ไม่จริง ของการตรวจความเสี่ยงมะเร็งจากพันธุกรรม
 
1. ใครๆ ก็สามารถตรวจหามะเร็งพันธุกรรมได้ ❓
ตอบ จริง เพียงแต่ จะมีการแบ่งกลุ่มการตรวจออกเป็น 2 ประเภท คือ การตรวจที่เหมาะสำหรับคนทั่วไป และ การตรวจที่เหมาะสำหรับคนที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ตัวเองมีประวัติ หรือ ครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็ง ดังนั้นก่อนการตรวจมะเร็งพันธุกรรมทุกครั้ง ควรเข้ารับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านพันธุศาสตร์ก่อน (Pre-test genetic counseling) เพื่อที่จะได้เลือกการตรวจที่เหมาะสม
2. การตรวจความเสี่ยงมะเร็งจากปัจจัยพันธุกรรม ควรที่จะต้องตรวจทุกปี เหมือนตรวจสุขภาพร่างกายประจำปี ❓
ตอบ ไม่จริง การตรวจความเสี่ยงมะเร็งจากพันธุกรรม ด้วยยีนใดยีนหนึ่ง ด้วยเทคนิคที่ได้รับการยอมรับทางการแพทย์ เช่น เทคนิค Next Generation Sequencing ตรวจแค่ 1 ครั้งในชีวิต เพราะเป็นการตรวจรายละเอียดลำดับยีนที่เราได้การถ่ายทอดมาจากพ่อแม่ตั้งแต่เกิด อย่างละเอียด และลำดับนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ยกเว้นว่ามีการอัพเดตความรู้ มีรายงานยีนที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งพันธุกรรมเพิ่มเติม ซึ่งเป็นยีนที่เรายังไม่ได้รับการตรวจก่อนหน้า
3. ตรวจเจอยีนมะเร็งพันธุกรรมแล้ว ฉันต้องเป็นมะเร็งแน่เลย ❓
ตอบ ไม่จริง เนื่องจากการที่ตรวจเจอความผิดปกติของยีนที่ก่อให้เกิดมะเร็งพันธุกรรมในบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ไม่ได้หมายความว่าคนนั้นจะเป็นโรคมะเร็งแน่ๆ 100% แต่จะขึ้นอยู่กับการใช้ชีวิตว่า เราได้เอาตัวเข้าไปอยู่ใกล้ปัจจัยที่กระตุ้นหรือไม่ หากใช้ชีวิตได้ดี หลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้น ก็มีโอกาสที่จะไม่เป็นมะเร็งได้ หรือในบางท่านอาจจะใช้การป้องกันบางอย่างที่ช่วยลดโอกาสการเกิดมะเร็งได้
4. ตรวจยีนเป็นเรื่องยาก เข้าใจยาก ผลที่ได้มาก็ไม่ช่วยอะไร ไม่รู้จะต้องทำยังไงต่อ ❓
ตอบ ไม่จริง หากลูกค้าตรวจยีนกับทางบริษัทเรา จะได้รับคำปรึกษาทั้งก่อน และหลังการตรวจ จาก Genetic Counselor หรือ ผู้ให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์ ที่พร้อมอธิบายจนเกิดความเข้าใจจริงๆ ลูกค้าสามารถนำเอาแนวทางที่ได้รับคำแนะนำนี้ไปปรับใช้ได้ รับรองว่าเกิดประโยชน์แน่อน
By adminph Posted 2024-03-07 00:00:00

ค้นหาบทความ


บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง